เมนู

เองนำมาผูกไว้ คือสวมไว้ที่คอ ฉันใด ภิกษุเหล่านั้น ก็อึดอัด ระอา เกลียด
ชังด้วยร่างกายของตน ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ใคร่จะสละร่างกายของตนเสีย
เพราะเป็นผู้ปราศจากความรักด้วยอำนาจความพอใจ ดุจบุรุษคนนั้นผู้ใคร่จะ
สละทิ้งซากศพนั้นเสีย ฉะนั้น จึงถือเอาศัสตรา แล้วปลงชีวิตตนเองบ้าง
วานกันและกัน ให้ปลงชีวิตบ้าง ด้วยพูดอย่างนี้ว่า ท่านจงปลงกระผมเสียจาก
ชีวิต กระผมจะปลงท่านเสียจากชีวิต.
คำว่า มิคลัณฑิกะ ในสองบทว่า มิคลณฺฑิกมฺปิ สมณกุตฺตกํ
นี้เป็นชื่อของเขา.
บทว่า สมณกุตฺตโก ได้แก่ ผู้ทรงเพศสมณะ. ได้ยินว่ามิคลัณฑิกะ
นั้น โกนศีรษะไว้เพียงจุก นุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่ง พาดไว้บนไหล่
เข้าอาศัยวิหารนั้นแล เป็นอยู่โดยความเป็นคนกินเดน. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปหา
มิคลัณฑิกะ ผู้ทรงเพศสมณะแม้นั้น แล้วกล่าวอย่างนั้น.
ศัพท์ว่า สาธุ เป็นนิบาต ลง ในอรรถว่าขอร้อง. โน เป็นทุติยา
วิภัตติ พหุวจนะ. มีคำอธิบายว่า พ่อคุณ ! ดีละ เธอจงช่วยปลงชีวิตพวกฉันที.
ก็บรรดาภิกษุเหล่านั่น ภิกษุผู้ เป็นอริยะไม่กระทำปาณาติบาต ไม่ชักชวนบุคคล
อื่น ทั้งไม่อนุญาตด้วย. ส่วนภิกษุผู้เป็นปุถุชน กระทำได้แทบทุกอย่าง.
บทว่า โลหตกํ แปลว่า เปื้อนเลือด. แม่น้ำที่เขาสมมติกันว่าเป็น
บุญของชาวโลก เรียกว่า วัคคุ ในคำว่า เยน วคฺคุมุทา นี้. ได้ยินว่า
แม้มิคลัณฑิกะนั้น ไปยังแม่น้ำนั้น ด้วยความสำคัญว่า จักลอยบาปในแม่น้ำนั้น.

[มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุแล้วเกิดความเสียใจ]


สองบทว่า อทุเทว กุกฺกุจฺจํ ความว่า ได้ยินว่า บรรดาภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุบางรูปไม่ได้ทำกายวิการ หรือวจีวิการ, ทั้งหมดทุกรูป มีสติ

รู้สึกตัวอยู่ นอนลงโดยตะแคงขวา. เมื่อมิคลัณฑิกะนั้น ตามระลึกถึงความ
ไม่กระทำกายวิการ และวจีวิการนั้น ได้มีความรำคาญใจแล้วนั้นเทียว. บาป
แม้มีประมาณน้อย ชื่อว่าเขาละได้แล้ว ด้วยอานุภาพแห่งแม่น้ำย่อมไม่มี.
คำว่า อหุ วปฺปฏิสาโร นั่น ท่านกล่าวไว้ เพื่อกำหนดสภาพ
แห่งความรำคาญนั้นนั่นแล. ได้มีความรำคาญ เพราะความวิปฏิสาร มิใช่ความ
รำคาญทางพระวินัยแล.
ท่านกล่าวคำว่า อลาภา วต เม เป็นต้น เพื่อแสดงอาการคือความ
เป็นไปแห่งความรำคาญ.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อลาภา วต เม ความว่า มิคลัณฑิกะนั้น
ทอดถอนใจอยู่ว่า บัดนี้ ชื่อว่าลาภคือประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของเรา
ย่อมไม่มีต่อไป. ก็เขาเน้นเนื้อความนั้นนั่นเอง ให้หนักแน่น ด้วยคำว่า ลาภ
ของเราไม่มีหนอ นี้. แท้จริง ในคำว่า น วต เม ลาภา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
แม้ถ้ามีใคร ๆ พึงกล่าวว่า เป็นลาภของท่าน คำนั้นผิด ลาภของเรา ย่อม
ไม่มีเลย.
ข้อว่า ทุลฺลทฺธํ วต เม มีความว่า ความเป็นมนุษย์นี้ แม้ที่เรา
ได้แล้วด้วยกุศลานุภาพ ก็เป็นอันเราได้ไม่ดีหนอ. ก็เขาย่อมเน้นเนื้อความนั้น
นั่นเอง ให้หนักแน่นด้วยคำนี้ว่า เราได้ไม่ดีหนอ. จริงอยู่ ในคำว่า น วต
เม สุลทฺธํ
นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า แม้ถ้าใคร ๆ พึงกล่าวว่า ท่านได้ดีแล้ว
คำนั้นผิด เราได้ไม่ดีหนอ.
สองบทว่า อปุญฺญํ ปสุตํความว่า สิ่งมิใช่บุญเราสั่งสมหรือก่อ
ให้เกิดขึ้นแล้ว. หากจะพึงมีผู้ถามว่า เพราะเหตุไร ? พึงเฉลยว่า เพราะเหตุ
ที่เราได้ปลงภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม เสียจากชีวิต. คำนั้น

มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่เราได้ปลงภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
คือผู้มีอุดมธรรม มีธรรมอันประเสริฐ เพราะความเป็นผู้มีศีลนั้นแล จากชีวิต.

[เทวดาช่วยปลอบโยนมิคลัณฑิกะให้ฆ่าภิกษุต่อไป]


สองบทว่า อญฺญตรา มารกายิกา มีความว่า ภุมเทวดาคนหนึ่ง
ไม่ปรากฏชื่อ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร ประพฤติตามมาร คิดว่า
มิคลัณฑิกะนี้ จักไม่กล้าล่วงบ่วงของมาร คือวิสัยของมารไปได้ ด้วยอุบาย
อย่างนี้ ดังนี้แล้วจึงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง เมื่อจะแสดงอานุภาพ
ของตน จึงเดินมาบนน้ำ อันไม่แตกแยก ดุจเดินไปมาอยู่บนพื้นดินฉะนั้น
ได้กล่าวคำนั่น กะมิคลัณฑิกะสมณกุตก์.
ศัพท์ว่า สาธุ สาธุ เป็นนิบาต ลงในอรรถ คือความร่าเริง.
เพราะเหตุนั้น ในพระบาลีนี้ จึงกล่าวย้ำ 2 ครั้ง อย่างนี้แล.
สองบทว่า อติณฺเณ ตาเรสิความว่า ท่านช่วยส่งพวกคนที่ยังข้าม
ไม่พ้น ให้ข้ามพ้น คือช่วยเปลื้อง ให้พ้นจากสงสาร ด้วยการปลงเสียจาก
ชีวิต. ได้ยินว่า เทวดาผู้เป็นพาลทรามปัญญาตนนั้น มีลัทธิดังนี้ว่า บุคคล
ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ตาย ชื่อว่ายังไม่พ้นจากสงสาร, ผู้ที่ตายแล้วจึงพ้น. เพราะ
เหตุนั้น เทวดาผู้มีลัทธิอย่างนั้น ก็เป็นเหมือนชนชาวป่า* ผู้จะเปลื้องตนจาก
สงสารฉะนั้น ได้ประกอบแม้มิคลัณฑิกะนั้นไว้ในการให้ช่วยปลงเสียจากชีวิต
นั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

[มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุต่อไปวันละ 1 รูปถึง 500 รูป]


ครั้งนั้นแล มิคลัณฑิกะสมณกุตก์ ถึงแม้เป็นผู้มีความเดือดร้อน
เกิดขึ้นกล้าแข็งเพียงนั้นก็ตาม ครั้นเห็นอานุภาพของเทวดานั้น ก็ถึงความ
ตกลงใจว่า เทวดาตนนี้ ได้กล่าวอย่างนี้, ประโยชน์นี้ พึงเป็นอย่างนี้ทีเดียว
//* มิลกฺข มลกฺโข คนชาวป่า, คนป่า, ผู้พูดอย่างเสียงสัตว์ร้อง, เป็นคนมิได้รับการศึกษาเลย.